อังคาร. ก.ค. 1st, 2025

โตเกียว โอซากา ครองอันดับ 1 เมืองท่องเที่ยวโลก เทรนด์ท่องโลก

โตเกียว โอซากา

“มาสเตอร์การ์ด” เผยเทรนด์ท่องเที่ยวโลกปี 2025 เอเชีย-แปซิฟิก ทรงอิทธิพลสูงสุด

ขึ้นแท่นศูนย์กลางการเดินทาง เผย  โตเกียว โอซากายังครองความนิยมอันดับ 1-2 ของโลก

ขณะที่ “จีน-อินเดีย” เป็น 2 ตลาดใหญ่ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโลก นายเดวิด แมนน์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของมาสเตอร์การ์ด เปิดเผยว่า จากรายงาน “Travel Trends 2025” ฉบับล่าสุดจาก Mastercard EconomicsInstitute (MEI) ระบุว่าแนวโน้มในปี 2568 นี้ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะกลายเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวโลก โดยครอง 8 ใน 15 อันดับจุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วงฤดูร้อนปี 2568 (มิถุนายน-กันยายน) แม้ว่าจะเป็นภูมิภาคที่มีความผันผวนของเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศสูง แต่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกยังคงหลั่งไหลเข้ามา.

 

โตเกียว โอซากา

โตเกียว-โอซากา No.1-2

โดย 2 เมืองหลักของญี่ปุ่นคือ โตเกียว และโอซากา เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ ในช่วงฤดูร้อน 2568 โดยโตเกียวกลับมาทวงตำแหน่งอันดับ 1 ของโลกอีกครั้ง หลังจากอยู่ในอันดับ 2 เมื่อปี 2566 สะท้อนถึงเสน่ห์อันยั่งยืนของเมืองหลวงญี่ปุ่น ที่มีทั้งความทันสมัย วัฒนธรรม วิถีชีวิต และความสะดวกในการเดินทางที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว ขณะที่ญาจางเมืองตากอากาศริมฝั่งทะเลของเวียดนามเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ติดโผจุดหมายปลายทางยอดนิยมเป็นครั้งแรก โดยนักท่องเที่ยวต่างชื่นชอบหาดทรายขาว บรรยากาศชายทะเล และชีวิตยามค่ำคืนที่มีสีสัน รวมถึงค่าครองชีพที่ยังจับต้องได้

จีน-อินเดีย ขับเคลื่อนท่องเที่ยว

ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงเป็นผู้นำด้านจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางออกนอกประเทศมากที่สุด โดยภาพรวมในปี 2567 ชี้ให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวจีนให้ความสำคัญกับความคุ้มค่า ความสะดวกในการขอวีซ่า และความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ส่งผลให้ประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ตลอดจนแถบเอเชียกลาง เช่น คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และคีร์กีซสถาน กลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่น่าจับตามอง ADVERTISMENT ขณะเดียวกัน อินเดียได้สร้างสถิติใหม่อีกครั้งในปี 2567 ด้วยจำนวนนักเดินทางออกนอกประเทศสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยจุดหมายปลายทางยอดนิยม ได้แก่ อาบูดาบี ฮานอย และบาหลี โดยการเติบโตของชนชั้นกลางในอินเดีย บวกกับการเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศ ทำให้พฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวอินเดียมีความกระตือรือร้นและหลากหลายมากขึ้น ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงต่อการเติบโตระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโลก ด้านประเทศไทยก็ยังครองตำแหน่งผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีทั้งรีทรีตเพื่อการทำสมาธิ ที่พักเชิงนิเวศ และสปาหรูระดับโลก ซึ่งตอบสนองต่อกระแส Wellness Tourism ได้อย่างลงตัว

“เงินเฟ้อ-ค่าเงิน” ปัจจัยตัดสินใจ

นายเดวิดกล่าวว่า ค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยนกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่นักเดินทางในเอเชีย-แปซิฟิก โตเกียว โอซากา  ให้ความสนใจ โดยเฉพาะในกรณีของญี่ปุ่น ซึ่งเงินเยนอ่อนค่าลงตลอดปี 2567 ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีน สิงคโปร์ และนิวซีแลนด์ แม้ต้นทุนการเดินทางจะปรับสูงขึ้นก็ตาม เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา ที่พบว่านักท่องเที่ยวจากอินเดีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน มีความไวต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสูงนายเดวิดกล่าวย้ำด้วยว่า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยังคงเป็นหัวใจของทิศทางใหม่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นในแง่จุดหมายปลายทาง นักเดินทาง หรือแนวโน้มที่ขับเคลื่อนด้วยจิตวิญญาณของการแสวงหาประสบการณ์ที่ลึกซึ้ง svong-1

 

By svong-1

Related Post